Sunday, August 31, 2014

งานสัปดาห์หน้า(6/8/57)

หลังจากการนำเสนอสัปดาห์นี้(31/9/57) ได้มอบหมายให้นักศึกษาแต่ละคนไปศึกษา "กิจกรรมการพัฒนา" ทีทมีการดำเนินการอยู่ในชุมชน จะเป็นเรื่องอะไรก็ได้ ที่เป็นโครงการของหน่วยงานราชการ/กิจกรรมขององค์กรปกครองท้องถิ่น/หรือกิจกรรมของประชาชนที่ได้ดำเนินการในระดับชุมชน โดยมีประเด็นการศึกษา คือ
1. ความเป็นมา/ความสำคัญ
2. วัตถุประสงค์ของกิจกรรม/โครงการ
3. กระบวนการ/ขั้นตอนการดำเนินงาน

ให้นักศึกษาเขียนด้วยลายมือตนเองภายในหนึ่งหน้ากระดาษ ส่งสัปดาห์หน้าในเวบาเรียน แล้วจะคัดเลือกเพื่อการเรียนร่วมกันในชั้นเรียน...ทุกคนมีโอกาสในการได้รับการคัดเลือก จึงขอให้เตรียมตัวให้พร้อมทุกคนนะครับ
ขอให้เตรียมข้อมูลให้พร้อมทุกคนนะครับ แล้วนำมากเปลี่ยนเรียนรู้กัน

อ.สุริยะ พิศิษฐอรรถการ









Saturday, August 30, 2014

บรรยากาศการเรียน(31/8/57



แบ่งกลุ่มเพื่อทำกิจกรรมร่วมกันในรายวิชา สังคมไทยกับการพัฒนา ประเด็นสำคัญต่อเนื่องจากสัปดาห์ที่แล้ว ผลกระทบจากโครงการ SAVAN CITY ที่ประชาชนคนมุกดาหาร ที่คาดว่าจะได้รับในอนาคต เพื่อเตรียมความพร้อมในการรับกับการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว โดยการแบ่งกลุ่มนักศึกษาออกเป็น 3 กลุ่มเพื่อร่วมกันพิจารณาประเด็นปัญหาและแนวทางแก้ไขปัญหา  ได้แก่
1. กลุ่มหน่วยงานราชการ


2. กลุ่มองค์กรปกครองท้องถิ่น(อบต./เทศบาล/อบจ.)


3. ประชาชนทั่วไป

ผลการเรียนรู้


บรรยากาศประกอบอื่นๆ

ทุกกลุ่มมีความตั้งใจและมีความร่วมมือ ความสนใจในการทำงานและสามารถนำเสนอได้อย่างยอดเยี่ยม...ขอให้ทุดคนกล้าแสดงออกเพื่อเป็นการฝึกทักษะของตนเองเื่ออนาคตที่ดีกวีาในวันข้างหน้า...อาจารย์เชื่อว่าทุกคนทำได้ถ้าตั้งใจและมีความมุ่งมั่นะประการสำคัญ อาจารย์เห็นความตั้งใจของทุกคนที่จะมีส่วนร่วมในการพัฒนาจังหวัดมุกดาหารให้เจริญก้าวหน้าไปพร้อมกับการเปลี่ยนแปลงที่มีความรวดเร็ว จนบางครั้งเราตามไม่ทัน...อาจารย์หวังว่านักศึกษาทุกคนที่อยู่ในชุมขน จะช่วยกันและเข้าไปมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชนอย่างแน่นอน

ด้วยความปรารถดี
อ.สุริยะ พิศิษฐอรรถการ










Friday, August 29, 2014

ข้อสรุป...SAVAN CITY

จากการระดมความคิดเห็นของนักศึกษา สรุปได้ดังนี้

หากมีการเปลี่ยนแปลงจากการก่อสร้าง SAVAN CITY (สปป. ลาว)
นักศึกษา/จังหวัดมุกดาหาร จะมีผลกระทบอย่างไร

นักศึกษา
ผลประโยชน์
ผลกระทบ
๑.มีโอกาสทำงานในพื้นที่
๒.สามารถเลือกอาชีพที่หลากหลาย
๓.มีโอกาสไปทำงานต่างประเทศ
๔.มีการเรียนรู้ภาษามากขึ้น
๕.มีความสุขที่ได้เห็นสิ่งใหม่ๆ
๖.มีลูกค้ามากขึ้นกับการทำธุรกิจส่วนตัว
๗.มีโอกาสร่วมงานกับเพื่อนต่างประเทศ
๘.มีรายได้เพิ่มขึ้น
๑.มีโอกาสได้รับมลพิษ
๒.ค่าครองชีพสูงขึ้น/ราคาสินค่าสูงขึ้น
๓.มีผลกระทบกับการค้า/ธุรกิจขนาดเล็ก
๔. การจราจรติดขัด
๕.มีคู่แข่งในการประกอบอาชีพ/หางานทำมากขึ้น/อาจตกงาน
๖.การลักขโมย/อาชญากรรม
๗.จะเสียเปรียบเรื่องภาษา
๘.มีการใช้ทรัพยากรมากขึ้น(ไฟฟ้า)

ประชาชนจังหวัดมุกดาหาร
ผลประโยชน์
ผลกระทบ
๑.มีคนมาลงทุนมากขึ้น
๒.การท่องเที่ยวมีมากขึ้น
๓.มีการค้าขายระหว่างประเทศมากขึ้น
๔.คนมุกดาหารมีรายได้มากขึ้น
๕.มีสิ่งอำนวยความสะดวกมากขึ้น
๖.มีสถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจเพิ่มขึ้น
๗.
,มีโอกาสในการทำงานมากขึ้น
๘.มีการส่งสินค้าออกมากขึ้น
๙.จะเป็นศูนย์กลางของการพัฒนาด้านเศรษฐกิจ
๑๐.นักธุรกิจมุกดาหาร สามารถไปลงทุนในประเทศลาวมากขึ้น
๑๑.คนมุกดาหาร มีโอกาสในการสร้างงาน สร้างรายได้มากขึ้น
๑๒.การส่งสิ้นค้าออกมีความสะดวกมากขึ้น
๑๓.มีธุรกิจใหม่ๆเกิดขึ้น
๑๔.เกิดแรงกดดันให้จังหวัดมุกดาหาร ต้อเร่งการพัฒนาในด้านต่างๆ
๑๕.การว่างงานจะลดลง
๑๖.การเดินทางมีความสะดวกมากขึ้น
๑๗.ลดปริมาณคนต่างด้าวในจังหวัด

๑.ค่าครองชีพสูงขึ้น
๒.การจราจรติดขัด
๓.มลพิษมีมากขึ้น
๔.เกิดชุมชนแออัด
๕.นักลงทุนจะเห็นไปลงทุนในลาวมากขึ้น(ไม่ลงทุนในมุกดาหาร)
๖.นักท่องเที่ยวมาเที่ยวมุกดาหารน้อยลง/มุกดาหารจะเป็นทางผ่าน
๗.การแข่งขันในการทำงานมีมากขึ้น
๘.จังหวัดจะสูญเสียรายได้
๙.มุกดาหารจะขาดดุลการค้า
๑๐.คนในจังหวัดจะมีการแข่งขันกัน
๑๑.ขยะจะเพิ่มขึ้น มีผลกระทบต่อสภาวะโลกร้อน
๑๒.มีผลต่อวัฒนธรรม/ชีวิตความเป็นอยู่ของคนมุกดาหารเปลี่ยนแปลงไป
๑๓.จำนวนประชากรในจังหวัดเพิ่มขึ้น/เกิดความแออัด
๑๔.การค้าขาย/การลงทุนในจังหวัด จะขยายตัวน้อยลง

 

คำถามต่อไป......
เมื่อเกิดผลกระทบทั้งทางด้านบวกและลบดังกล่าวข้างต้น ถ้านักศึกษา เป็นส่วนราชการ/องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น/ประชาชนทั่วไป ควรจะมีแนวทางในการเตรียมความพร้อมเพื่อ
พัฒนาหรือแก้ไขปัญหาข้างต้นอย่างไร

๑. ในฐานะที่เป็นส่วนราชการ (เกษตร/พาณิชญ/อุตสาหกรรม  ฯลฯ)
๒. ในฐานะที่เป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อบจ./อบต./เทศบาล)
๓. ในฐานะที่เป็นประชาชนทั่วไป
กระบวนการ
แบ่งนักศึกษาออกเป็น ๓ กลุ่ม ตามความสนใจ ระดมความคิดเห็นในกลุ่มของคนแล้วนำเสนอต่อเพื่อนนักศึกษา ให้เวลากลุ่มละ ๑๕ นาที

อ.สุริยะ  พิศิษฐอรรถการ
วิทยาลัยชุมชนมุกดาหาร
๓๑ สิงหาคม ๒๕๕๗

Saturday, August 23, 2014

ปัญหาสังคมไทยปัจจุบัน



สังคมไทยปัจจุบัน เป็นสังคมที่เห็นคุณค่าทางวัตถุมากกว่าคุณค่าทางจิตใจ ยิ่งพัฒนาไปเท่าใด จะยิ่งเกิดปัญหาจากการพัฒนาเท่านั้น ยิ่งมีวัตถุสนองความต้องการมากเท่าใดยิ่งไม่รู้จักอิ่ม ไม่รู้จักพอ คนไทยในยุคโลกาภิวัตน์จึงมีปัญหาทางจิตเกิดขึ้นมากมาย เช่น มีพฤติกรรมการแสดงออกที่รุนแรง ขาดเมตตา ทั้ง ๆ ที่พระพุทธศาสนาสอนว่า เมตตาธรรมเป็นเครื่องค้ำจุนโลก ทำให้คนไทยยุคใหม่ตกเป็นทาสของประเทศทุนนิยมที่ผลิตเครื่องอุปโภคบริโภคมาเป็นเหยื่อล่อ ทำให้มนุษย์เกิดกิเลสอยากมีอยากได้ สนับสนุนให้เกิดค่านิยมบริโภคผ่านสื่อต่าง ๆ โดยปราศจากการควบคุม เมื่อเกิดความอยากมี อยากได้ แต่ไม่มีเงินซื้อจะกระทำทุจริต ลักเล็กขโมยน้อย ฉกชิงวิ่งราวดังที่เป็นข่าวอยู่เสมอ สังคมปัจจุบันจึงไร้ความมีน้ำใจ มนุษย์ชอบหมกมุ่นในกามคุณ เป็นที่รวมสิ่งยั่วยุทางเพศ สื่อลามกต่าง ๆ มากมาย มีสิ่งมอมเมาในรูปแบบการพนันต่าง ๆ อีกมาก เสพสิ่งเสพติด เช่น บุหรี่ ยาบ้า ยาไอซ์ เมื่อสังคมไทยตกอยู่ในสภาพแวดล้อมทางสังคมเช่นนี้ จึงหมกมุ่นจนถอนตัวไม่ขึ้น อีกทั้งคนส่วนใหญ่คิดว่า การมีความพร้อมทางวัตถุจะทำให้ชีวิตมีความสงบสุข จึงชอบวิ่งตามวัตถุ ไขว่คว้าหามาบำรุงชีวิต สิ่งใดที่ยังไม่มีเหมือนคนทั่วไปจะพยายามดิ้นรนหามา สิ่งที่มีอยู่แล้วก็ให้มีมากกว่าเดิม ถึงกับกู้หนี้ยืมสินมาซื้อหา ที่ถลำลึกอาจถึงขั้นทุจริตคิดมิชอบต่อหน้าที่การงาน คนประเภทนี้จะหาความสงบสุขทางใจไม่ได้จนตลอดชีวิต

          มนุษย์ในสังคมปัจจุบันชอบตรวจสอบคนอื่น ไม่ยอมหันมาตรวจสอบตนเอง ดังคำสอนที่ว่า จงเตือนตนด้วยตนเอง หรือจงตั้งตนไว้ในคุณธรรมก่อน แล้วจึงสอนคนอื่น ทำได้เช่นนี้จึงจะไม่มัวหมอง ไม่ควรแต่คิดหาความผิดของคนอื่นหรือธุระที่เขาทำหรือยังไม่ทำ แต่ควรพิจารณาตนว่า อะไรที่ตนทำแล้วหรือยังไม่กระทำ ระบบการศึกษาอบรมของไทยในปัจจุบันได้รับอิทธิพลจากประเทศทางตะวันตก สอนให้รู้เรื่องภายนอกตัว มิได้เน้นว่าเมื่อเรียนรู้เรื่องของคนอื่นแล้ว ให้หันมาตรวจสอบตนเองบ้าง ระบบการศึกษาเช่นนี้เมื่อตนมีข้อบกพร่องอะไรกลับมองไม่เห็น หรือเห็นแต่แกล้งทำไม่สนใจ พฤติกรรมของมนุษย์ประการสำคัญ คือ มีศรัทธาเลื่อนลอย คนไทยนับถือพระนับถือเจ้าก็จริง แต่ส่วนใหญ่ไม่ เลื่อมใสอย่างมั่นคง ชาวพุทธที่นับถือพระรัตนตรัยจึงควรพึ่งตนเอง ยึดเอาพระรัตนตรัยเป็นแรงบันดาลใจ ไม่ดูถูกความสามารถของตนเอง หันไปพึ่งผีสางเทวดาหรือสิ่งที่เหลวไหล หรืองมงายต่าง ๆ เช่น สัตว์ประหลาดหัวเป็นหมู หางเป็นหมา ปลาไหลเผือก เป็นต้น

           คนไทยยุคใหม่ในปัจจุบัน ส่วนใหญ่นับถือพระรัตนตรัยเพียงลมปากเท่านั้น แต่มีพฤติกรรมสวนทางให้เลื่อมใสศรัทธาเป็นส่วนใหญ่ หลักสูตรวิชาพระพุทธศาสนามีหัวข้อที่ทันสมัยอยู่ข้อหนึ่งคือ ปัญหาทางจิตของประชาชนไทย ที่ว่าทันสมัยเพราะสังคมไทยเป็นสังคมที่มีความสงบสุข ไม่มีปัญหาทางจิต ไม่เหมือนกับประเทศที่เจริญหรือพัฒนาแล้วแต่มีคนเป็นโรคจิตหรือคนบ้าเพิ่มขึ้น แต่ปัจจุบันคนไทยตกอยู่ในสภาพไม่แตกต่างจากประเทศที่เจริญหรือประเทศที่พัฒนาแล้วที่หมกมุ่น หลงใหลในวัตถุมากว่าสิ่งที่มีคุณค่าทางจิตใจ ทำให้เดินเข้าสู่สิ่งที่เรียกว่า อบายมุขได้ง่ายมากกว่าการเดินทางเข้าสู่วัด เพื่อบำเพ็ญบุญ บำเพ็ญทานบารมีเพื่อให้ชีวิตได้พบกับความสุข ความเจริญ.

 นักศึกษาคิดว่า ประเด็นปัญหาสังคมไทยที่กล่าวข้างต้น เป็นความจริงมากกน้อยเพียงใด เพราะเหตุใดและจะมีแนวทางในการแก้ไขปัญหาเหล่านั้นอย่างไร (กรุณา Post ความคิดเห็นพร้อมระบุชื่อของนักศึกษาด้วยนะเครับ)

Friday, August 8, 2014

ความเหลื่อมล้ำ...รากลึกปัญหาสังคมไทย



สังคมไทยมีปัญหามากมายหลายมิติ แต่ไม่ว่ามองไปทางดัานใด พบว่า มีปัญหาทุกเรื่องทุกด้าน จนในบางครั้งเมื่อมีการพูดถึงปัญหาของสังคมไทยครั้งใด มักลงเอยด้วยการไม่มีข้อสรุปว่าจะเอาอย่างไร นักศึกษาที่เกิดสภาพการณ์เช่นนี้ เป็นเพราะเหตุใด (กรุณา Comments และกรุณาระบุชื่อตนเองด้วยครับ






Saturday, August 2, 2014

รายชื่อนักศึกษา

สาขาวิชา คอมพิวเตอร์ธุรกิจ รุ่น ๑๓
๑. นายจีรศักดิ์  ทองเภา
๒. นายเรืองศักดิ์  อึคฮาด
๓. นายอำพล  คนเพียร
๔. นางสาวสุณภา  ผาลอด
๕. นางสาวดาราวดี  ทองเภา
๖. นางสาวทิพมาศ  อินทร์ทอง
๗. นางสาวรัตนา  ธิจักร
๘. นางสาวเอมอร  ชาลือ
๙. นายสาวอารยา  บุญคำ
๑๐. นางสาวทิพย์กมล  สุขประเสริฐ
๑๑. นางสาวพรหมภัสสร์  เสนาพันธ์
๑๒. นายณัฐพล  คำพิลา
๑๓. นายวรัตน์พงษ์  ศรีสุพรรณ
๑๔. นางสาวสิริกัลยา  รูปดี
๑๕. นายกิตติพงษ์  ทองจันทร์
๑๖. นายยุทธพัตร์  ราชิวงศ์
๑๗. นายธีรพงษ์  ดีดวงพันธ์
๑๘. นายสกล  อินธิเสน
๑๙. นางสาวจันทร์สุดา  ดีดวงพันธ์
๒๐. นางสาวพัชรินทร์  แสงวงษ์
๒๑. นายศุภวัฒน์  ไชยวงษ์
๒๒. นางสาวกฤษณา  อ่อนคะณา
๒๓. นางสาวสุภิตา  คนเพียร
๒๔. นายณัฐวุฒิ  พิกุลศรี
๒๕. นายอาทิตย์  รุ่งสว่างวงค์
๒๖. ส.ณ.เอกกวี  แสงหาราช
๒๗. นายเวชนันท์  ประทุมลี
๒๘. นางจิรพันธ์  แข็งแรง
๒๙. นางพงศธร  วรรณไกรศรี
๓๐. นางสาวศิราพร  พิสชาติ
๓๑. นายเอกอมร  มั่งคั่ง
๓๒. นางสาวรรกมล  ไกยลุน
๓๓. นางสาวปกรณ์  คำมุงคุณ
๓๔. นายอนุวัฒน์  ทัศนะภาค
๓๕. นายรัฐพล  หนองสูง
๓๖. นายณัฐพล  นุ่นนาแซง
๓๗. นายกฤษดา  บุญชู
๓๘. นายอนันต์  สุรีย์พุทธ
๓๙. นายบุญเลิศ  บุญรักษ์
๔๐. นายศุภชัย  ทองอุ่น
๔๑. นางสาวฉันทนา  ภารดา
๔๒. นางสาวพลับพลึง  แสงสุวรรณ

ปฐมวัย  รุ่น ๑๓
๑. นายยุทธนินทร์  รสจันทร์
๒. นางสาววิเศษ  กงนะ
๓. นางสาวเลียม  ชาลี
๔. นางสาวอภิสรา  จันเต็ม
๕. นางลลิสา  บัวคำภา
๖. นางสาวเกษฎา  โสมศรี
๗. นางจูกแจง  ภูมิศรี
๘. นางสาวอังคณา  ไกรลือชา
๙. นางสาวมณวฬา  เมฆสถิตย์
๑๐. นางสาวสิริยาภา  บุญญาธนเตโชดม
๑๑. นางสาวนริสรา  อุระ
๑๒. นางสาววาสนา  อนุกิจพานิช
๑๓. นางสาวนวรัตน์  ไชยโคตร
๑๔. นางสาวดาวประกาย  สุพรรณโมกข์
๑๕. นางสาวกัญญาพร  ทองโสม
๑๖. นางสาวอุไรวรรณ  เมืองโคตร
๑๗. นางสาวรัตนา ผิวงาม
๑๘. นางสาวเสาวลักษณ์  ทะนา
๑๙. นางสาวพชร  ใจสุข
๒๐. นางนนธญา  ทะวา
๒๑. นางสาวสุภาวรรณ  พรมอวน
๒๒. นางสาวสุกันยา  ทองขัน
๒๓. นางสาวอัจฉราภรณ์  พลจันทา
๒๔. นางสาววรัญญา  การพานิช
๒๕. นายอาณัฐพร  รูปสอาด
๒๖. นางสุภาภักดิ์  มัสยามาศ
๒๗. นางสาวพิมพ์สุดา  เมืองโคตร

สาขาธุรกิจฯ รุ้น ๔ (ยังไม่มีรายชื่อ)