Saturday, November 8, 2014

ข้อสอบสำหรับรายวิชาสังคมไทยกับการพัฒนา

ในที่สุดการเรียนรายวิชาสังคมไทยกับการพัฒนาก็มาถึง ที่ผ่านมามีแต่ความสนุกและความสนใจของนักเรียนทุกคน ขอชื่นชมในการเรียนแบบมีส่วนร่วม และในการสอบ Final มีรายละเอียดดังนี้
(๑) ข้อสอบทั้งหมด ประมาณ ๕ ข้อ. เขียนทั้งหมด และสอบแบบ Open book
(๒) ให้นักศึกษาออกข้อสอบคนละ ๑ ข้อ มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับประเด็นที่เรียนมา เขียนคำถามส่งให้กับ "ปัญญา". เพื่อนำขึ้น blog ของอาจารย์ เพื่อทุกคนจะได้รับรู้
(๓) นักศึกษาเลือกข้อสอบที่อาจารย์ออกอีก ๓-๔ ข้อ
(๔) จะสอบในวันที่ ๒๓พ.ย.๕๗ เวลา ๐๙.๐๐-๑๒.๐๐
(๕). อย่าลืมส่งชิ้นงานที่มอบหมายในวันที่ ๒๓ พ.ย.๕๗ เป็นวันสุดท้าย

ขอให้ทุกคนโชคดีและขอชมเชยในความสนใจในการเรียนที่ผ่านมา

สุริยะ พิศิษฐอรรถการ


Wednesday, October 22, 2014

กรอบแนวทางการจัดทำรายงาน

ตามที่มอบหมายให้นักศึกษารวมกลุ่มตามพื้นที่(ตำบล/อำเภอ)เพื่อร่วมกันจัดทำรายงาน เรื่อง การวิเคราะห์ความสอดคล้องของแผนพัฒนาชุมชนขององค์การบริหารส่วนตำบล เทศบาล หรือเทศบาลเมือง ตามที่เป็นพื้นที่ของนักศึกษาแต่ละกลุ่ม โดยขอให้นักศึกษาดำเนินการดังนี้
     ๑. จับหลุ่มรวมตัวกันตามพื้นที่ของนักศึกษาที่อยู่ในพื้นที่ตำบลเดียวกัน
     ๒. ประสานงานกับองค์กรปกครองท้องถิ่น ขอเอกสาร "แผนพัฒนาประจำปี ๒๕๕๗" หรือ "แผนพัฒนาสามปี" หากไม่สามารถประสานงานได้ ให้ติดต่อกับผู้สอน เพื่อจัดทำหนังสือหรือช่วยประสานงานให้
     ๓. จัดทำรายงานโดยการศึกษาจากเอกสาร/หรือข้อมูลประกอบอื่นๆที่เกี่ยวข้อง โดยรายงานประกอบด้วย
           ๓.๑ บทที่ ๑ บทนำหรือ ข้อมูลทั่วไปของตำบลที่ศึกษา
           ๓.๒ บทที่ ๒ สภาพปัญหา/ความต้องการของประชาชนในพื้นที่
           ๓.๓ บทที่ ๓ แผนงานโครงการที่องค์กรปกครองท้องถิ่นเสนอ
           ๓.๔ บทที่ ๔ การวิเคราะห์ความสอดคล้องของแผนในแต่ละแผนงาน ว่าสอดคล้องกับปัญหา/ความต้องการของประชาชนมากน้ยเพียงใด
           ๓.๕ บทที่ ๕ สรุปและข้อเสนแนะของนักศึกษา ต่อ
                        (๑) กระบวนการทำแผน
                        (๒) ประสิทธิภาพในการแก้ไขปัญหาหรือสนองตอบความต้องการของประชาชน
                        (๓) ข้อเสนอแนะต่อการพัฒนาขององค์กรปกครองท้องถิ่น เกี่ยวกับ ตัวบุคคลทีทำหน้าที่บริหาร/สภาท้องถิ่น ประเด็นการพัฒนาท้องถิ่นนั้นๆ เป็นต้น
      ๔. ให้เวลาในการดำเนินการจัดทำรายงาน ประมาณ ๓ สัปดาห์ ให้ส่งอาจารย์ผู้สอนก่อนการสอบ Final สัปดาห์สุดท้ายของการเรียน

ขอให้สมาชิกกลุ่มแต่ละกลุ่มช่วยกันดำเนินการ ไม่ปล่อยให้เป็นหน้าที่ของคนใดคนหนึ่ง ต้องเรียนรู้ด้วยกัน และข้อสำคัญขอให้ดำเนินการตั้งแต่เนิ่นๆ ไม่รอเวลา ไม่เช่นนั้นแล้ว รายงานดังกล่าวจะไม่แล้วเสร็จตามกำหนดเวลา  มีปัญหาข้อสงสัยประการใด กรุณาติดต่อผู้สอนนะครับ

ด้วยความปรารถนาดี
อ.สุริยะ  พิศิษฐอรรถการ
          

Saturday, October 11, 2014

ประเด็นปัญหาที่พบในชุมชน

ได้มอบหมายให้นักศึกษารวมกลุ่มกันไม่เกินกลุ่มละ ๓ คนแล้วนำเสนอประเด็นปัยหา พร้อมทั้งวอเคราะห์สาเหตุและแนวทางแก้ไข มีกลุ่มนักศึกษาที่ได้ส่งรายงานแล้ว ดังนี้
๑. ปัญหาขยะในสังคมไทย (อนันต์ สุรีย์พร/เรืองศักดิ์ อัคฮาต(คอม ๑๓)
๒. การแก้ปัญหาด้วยอารมณ์ของวัยรุ่น (ปฐมภพ  อ่อนพุทธา/คอม ๑๓)
๓. ปัญหาเด็กและเยาวชน (นางสาวภัญสรณ์  นางาม/นางสาวอุไรวรรณ  เมืองโคตร)
๔. ปัญหาน้ำเน่าเสีย (ส.ณ.เอกกวี  แสงหาราช/สกล  อินธิโภณ/ณัฐพล  นุ่นนาแซง /คอม ๑๓)
๕. ปัญหายาเสพติด (นางวันเพ็ญ  พะลาด/ทองม้วน  จันทุมา/ธุรกิจ ๔)
๖. ป่าชุมชนภูขวาง (อาณัฐพร  รูปสะอาด/นางสาวสุกัญญา  ทองขัน/น.ส.วรัญญา  ก้างพานิช)
๗. ปัญหาคนในชุมชนดื่มเหล้าแล้งเสียงดัง (ปัญญา  ขันบรรจง/อาทิตย์  รุ่งส่างวงศ์/นำพล  คนเพียร)
๘. โครงการพัฒนาการเลี้ยงโค-กระบือ (นางสาวเกษฎา  โสมศรี/นางจุกแจง  ภูมีศรี/นางลลิสา  บัวคำภา)
๙. การแก้ปัญหาผู้ติดเชื่อ HIV (อภิเดช  สุวรรณละออง/นางสาววาสิตา  สีจันดา)
๑๐. ปัญหาเงินกู้คนพิการ (นางจิรพันธ์  แข็งแรง/น.ส.เอมอร  ชาลือ/น.ส.อรดี  ไชยลี/คอม ๑๓)
๑๑. ปัญหาขยะ (นายธีระพงษ์  ดีดวงพันธ์/น.ส.ปวีณา  เฉลิมพงษ์/น.ส.ดาราวดี  ทองเภา/คอม ๑๓)
๑๒. ปัญหาวัยรุ่นขับมอเตอร์ไซต์เสียงดัง (น.ส.ทิพวรรณ์  เมืองโคตร/น.ส.ประทุมวดี  เมืองโคตร/น.ส.ทิพย์สุดา  เมืองโคตร/น.ส.อังคณา  ไกลลือชา)
๑๓. ปัญหาการท้องก่อนวัยอันควร (ทิพมาศ  อินทร์ทอง/ฉันทนา  ภารดา/ทิพกมล  สุขประเสริฐ)
๑๔. สินคาโอทอปจากการแปรรูปปลานิล (น.ส.พิมพ์สุดา  ดมืองโคตร/นางอนงค์นาฏ  คำจันทร์/น.ส.รัตนา  ผิวงาม)
๑๕. ปัญหาภัยแล้ง (นายบุญเลิศ  บุญรักษ์/นายรัฐพล  หนองสูง/นายอนุรัตน์  ทัศนะภาค/คอม ๑๓)
๑๖. ความสามัคคีในชุมชชนและจิตสำนึกร่วม (นายชินวัฒน์  นุชวงศ์)

ขอชื่นชมกับทุกกลุ่มที่ได้นำเสนอประเด็นปัญหาด้วยความสนใจ หากมีกลุ่มที่ได้ส่งเอกสารแล้ว แต่ยังไม่มีชื่อ กรุณาแจ้งอาจารย์ด้วยครับ

Friday, October 10, 2014

นักศึกษาที่นำเสนอ....มาเรียนแล้วได้อะไร

นักศึกษาที่ได้สะท้อนความคิดเห็นจากการเรียนรายวิชาสังคมไทยกับการพัฒนา...มาเรียนสองสัปดาห์แล้วได้อะไร มีดังนี้
๑. นางสาวทิพมาศ  อินทร์ทอง (คอม ๑๓)
๒. นางสาวดาราวดี  ทองเภา (คอม ๑๓)
๓. นางสาวเอมอร  ชาลือ (คอม ๑๓)
๔. นางสาวอรดี  ไชยลี (คอม ๑๓)
๕. นายอนันต์  สุรีย์พุทธ (คอม ๑๓)
๖. นางสาวเกษฎา  โสมสี (ปฐมวัย ๑๓)
๗. นางสาวรัตนา  ผวงาม (ปฐมวัย ๑๓)
๘. นางสาวจุแจง  ภูมีศรี (ปฐมวัย ๑๓)
๙. นางลลิสา  บัวคำภา (ปฐมวัย ๑๓)
๑๐. นางสาวดาวประกาย  สุพรรณโมกข์ (ปฐมวัย ๑๓)
๑๑. นางสาววรัญญา  ก้างพานิช (ปฐมวัย ๑๓)
๑๒. นายอาณัฐพร  รูปสอาด (ปฐมวัย ๑๓)
๑๓. นายบุญเลิศ  บุญรักษ์ (คอม ๑๓)
๑๔. สามเณร เอกกวี  แสงหาราช (คอม ๑๓)
๑๕. นางจิรพันธ์  แข็งแรง (คอม ๑๓)
๑๖. นางอนงค์นาฎ  คำจันทร์ (ปฐมวัย ๑๓)
๑๗. นางสาวธัญสรณ์  นางาม (ปฐมวัย ๑๓)
๑๘. น.ส.สุกันยา  ทองขัน (ปฐมวัย ๑๓)

ดังนั้น สำหรับนักศึกษาที่ย้งไม่ได้นำเสนอความคิดเห็น  กรุณาเร่งดำเนินการด้วยครับหรือส่งแล้วไม่ปรากฎชื่อ กรุณาแจ้งชื่อให้ทราบด้วย

Monday, September 29, 2014

มาเรียน...แล้วได้อะไร

นี่คือตัวอย่างหนึ่งของเพื่อนเราคนหนึ่งที่ไดัแสดงความคิดเห็นว่า เรียนรายวิชาสังคมไทยกับการพัฒนาในช่วง 2 สัปดาห์ที่ผ่านมาแล้วได้อะไร

ตั้งแต่เปิดเรียนมา ได้พบปะพบหน้าและได้รู้จักครูอาจารย์และเพื่อนๆในสาขาต่างๆ รุ่นพี่มากหน้าหลายตา ได้เจอะเจอสิ่งใหม่ๆและมีสิ่งดีๆเข้ามาในชีวิต ซึ่งประสบการณ์ชีวิตนี้ไม่เคยได้รับมาก่อน เพราะตัวเราเองต้องทำมาหากิน เลี้ยงลูก เลี้ยงผัว เลี้ยงหลาน ในชีวิตประจำวันก็เจอพเจอแต่สิ่งต่างๆเหล่านี้เรื่อยมา จนกระทั่งได้มีโอกาสได้เข้ามาศึกษาในวิทยาลัยชุมชนนี้ ก็เป็นห้องเรียนอีกแบบหนึ่งที่น่าสนใจมาก อาจารย์ได้ให้ความรู้มากมาย หลายสิ่งหลายอย่างจากที่เราไม่เคยรู้มาก่อน ทำให้ชีวิตเรามีรสชาติมากขึ้นและได้เรียนรู้ต่อไปเรื่อยๆไม่มีสิ้นสุด และการเรียนวิชาสังคมไทยกับการพัฒนาของอาจารย์ท่านนี้ ยอมรับว่าได้รู้โลกกว้างมากขึ้น จากที่ไม่เคยได้รับรู้เรื่องอะไรมาก่อน การพัฒนาของประเทศต่างๆเขาเจริญไปมากแล้ว แต่ประเทศของเรากำลังพัฒนา ก็นับว่าเป็นโอกาสดีสำหรับตัวเรา ก็ต้องศึกษาหาความรู้และพัฒนาไปเรื่อยๆ แต่ก่อนที่ยังไม่ได้เรียนกับอาจารย์ก็คิดกลัวอยู่เหมือนกันว่า อาจารย์จะโหดไหม จะใจร้ายไหม เพราะตัวเราเองก็จบมาตั้งนานแลัว ซึ่งความรู้ใหม่ๆ เราก็ไม่มีโอกาสได้ศึกษา ไม่เคยได้รับรู้ข่าวสารอะไรใหม่ๆในชีวิตประจำวันเลย เพราะหมกมุ่นอยู่กับการทำมาหากินของตัวเอง แต่ก็ดีใจที่ตัวเองมาคิดได้อีกทีหนึ่ง คือ มีความฝันอยู่ว่า อยากจะเรียน แต่ไม่มีโอกาส จนกระทั่งส่งลูกเรียนจบ ก็มาคิดอีกทีว่าถึงเวลาที่ตัวเองจะเรียนบ้างแล้วล่ะ

จิรพันธ์ แข็งแรง
คอมพิวเตอร์ธุรกิจ รุ่น 13

Saturday, September 20, 2014

การวิเคราะห์ปัญหา

เมื่อนักศึกษารวมกลุ่มกันได้แล้ว ร่วมกันกำหนดประเด็นปัญหาและสาเหตุของปัญหา แล้วนำเสนอใน Blog นี้นะครับ

สุริยะ พิศิษฐอรรถการ
20/9/57

Monday, September 15, 2014

งานสัปดาห์หน้า(21/9/57)

การเรียนสัปดาห์ที่ผ่านมา มีข้อตกลงร่วมกันว่าให้นักศึกษาจับกลับกันไม่เกิน 3 คน โดยกำหนดให้แต่ละกลุ่มจับประเด็นปัญหาการพัฒนาที่เกิดขึ้น/ที่พบเห็นและเคยสัมผัสมาแล้ว กลุ่มละ 1 ปัญหา แล้วค้นหาสาเหตุของปัญหานั้นๆ เทคนิคที่ใช้คือ เมื่อพบสาเหตุของปัญหาแล้ว ให้ตั้งคำถามว่า "ทำไม"อย่างน้อย 5 ครั้ง เพื่อการตรวจสอบว่า สาเหตุของปัญหาที่พบนั้น เป็นปัญหาที่แท้จริง/หรือรากเหง้าของปัญหาหรือไม่...แล้วให้แต่กลุ่มกำหนดแนวทางแก้ไขปัญหานั้นร่วมกัน ซึ่งอาจมีได้หลายแนวทาง แล้วเขียนในกระดาษ A4. ด้วยลายมือตนเอง(เท่านั้น)และให้พยายาม post. ในบล๊อกนี้นะครับ/บอกชื่ิสมาชิกกลุ่มให้ชัดเจน...สัปดาห์หน้าก็จะคัดเลืก/สุ่ม ประเด็นของแต่ละกลุ่มนำเสนอในห้องเรียน เพื่อการแลกเปลี่ยนเรียนรูระหว่างนักศึกษา เพื่อนๆและอาจารย์ผู้สอน

อ.สุริยะ พิศิษฐอรรถการ
BKK
16/9/57

Tuesday, September 9, 2014

รถไฟกำลังจะมามุกดาหาร


การพัฒนาฯาโครงสร้างพื้นฐานด้านการขนส่ง...จังหวัดมุกดาหารรอการก่อสร้างรถไฟมาแล้วไม่ต่ำกว่า 30 ปี แล้วการรถไฟประเทศไทยที่ผ่านมา ได้รับการพัฒนาปรับปรุงน้อยมาก แต่เมื่อกาลเวลาผ่านไปความสำคัญสำหรับสังคมไทยกลับมีความสำคัญ เพราะก่อนหน้านี้ การพัฒนาเน้นการพัฒนาด้านการขนส่งโดยใช้ระบบถนนเป็นหลัก ผลทีาตามมาคือต้นทุนที่สูงขึ้นทั้งค่าน้ำมันื้อเพลิง อุบัติเหตุ ปริมาณการข่นส่งที่มีความจำกัด ซึ่งตกต่างจากประเทศที่พัฒนาแล้วทั้งหลาย ที่เขาเน้นการขนส่งระบบรางและมีความเจริญก้าวหน้ามาอย่างต่อเนื่อง...เป็นทิศทางของการพัฒนาที่แต่ละประเทศต้องเลือก  นักศึกษาประเทศเลือกผิดหนือถูกเพราะเหตุใด?

Saturday, September 6, 2014

กิจกรรมการพัฒนาชุมชนในสัคมไทย(9/7/57)

กิจกรรมการเรียนการสอนวันนี้(7/9/57) เป็นการนำเสนอกิจกรรมการพัฒนาที่มีการดำเนินการอยู่ในระดับชุมขนในสังคมไทย ซึ่งการนำเสนอของนักศึกษามีความน่าสนใจ กิจกรรมส่วนใหญ่นักศึกษาได้นำเสนอสภาพจริงและมีการสอบถามเพื่อความเข้าใจเพิ่มเติมจากเพื่อนๆ เกิดการแลกเปลี่ยนระหว่างกัน และประการสำคัญคือทำให้นักศึกษาได้มองเห็นภาพจริงหรือรูปธรรมของงานพัฒนาสังคมไทยที่มีการดำเนินการอยู่ในปัจจุบัน มองเห็นถึงผลดีผลเสียของนโยบาย/กิจกรรมการพัฒนาชุมขน/สังคมในหลายๆมิติ ทั้งมิติด้านเศรษฐกิจ/สังคม/การเมือง /วัฒนธรรม/สิ่งแวดล้อม...ทำให้เห็นภาพรวมของการพัฒนาที่มีความเชื่อมโยงซึ่งกันและกัน

ขอฝากนักศึกษาทุกคน บทบาทของนักศึกษาด้านหนึ่งเป็นสมาชิกของชุมชน ควรที่จะให้ความสนใจที่จะเข้าไปมีบทบาทในการดำเนินกิจกรรมการพัฒนาชุนในมิติต่างๆที่ตนเองสนใจ...ขอชื่นชมนักศึกษาส่วนใหญ่ที่ให้ความสนใจ สำหรับนักศึกษาที่ยังไม่ได้นำเสนอ ขอใหเตรียมตัว/เตรียมข้อมูลมานำเสนอในสัปดาห์ต่อไป(15/9/57)






Sunday, August 31, 2014

งานสัปดาห์หน้า(6/8/57)

หลังจากการนำเสนอสัปดาห์นี้(31/9/57) ได้มอบหมายให้นักศึกษาแต่ละคนไปศึกษา "กิจกรรมการพัฒนา" ทีทมีการดำเนินการอยู่ในชุมชน จะเป็นเรื่องอะไรก็ได้ ที่เป็นโครงการของหน่วยงานราชการ/กิจกรรมขององค์กรปกครองท้องถิ่น/หรือกิจกรรมของประชาชนที่ได้ดำเนินการในระดับชุมชน โดยมีประเด็นการศึกษา คือ
1. ความเป็นมา/ความสำคัญ
2. วัตถุประสงค์ของกิจกรรม/โครงการ
3. กระบวนการ/ขั้นตอนการดำเนินงาน

ให้นักศึกษาเขียนด้วยลายมือตนเองภายในหนึ่งหน้ากระดาษ ส่งสัปดาห์หน้าในเวบาเรียน แล้วจะคัดเลือกเพื่อการเรียนร่วมกันในชั้นเรียน...ทุกคนมีโอกาสในการได้รับการคัดเลือก จึงขอให้เตรียมตัวให้พร้อมทุกคนนะครับ
ขอให้เตรียมข้อมูลให้พร้อมทุกคนนะครับ แล้วนำมากเปลี่ยนเรียนรู้กัน

อ.สุริยะ พิศิษฐอรรถการ









Saturday, August 30, 2014

บรรยากาศการเรียน(31/8/57



แบ่งกลุ่มเพื่อทำกิจกรรมร่วมกันในรายวิชา สังคมไทยกับการพัฒนา ประเด็นสำคัญต่อเนื่องจากสัปดาห์ที่แล้ว ผลกระทบจากโครงการ SAVAN CITY ที่ประชาชนคนมุกดาหาร ที่คาดว่าจะได้รับในอนาคต เพื่อเตรียมความพร้อมในการรับกับการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว โดยการแบ่งกลุ่มนักศึกษาออกเป็น 3 กลุ่มเพื่อร่วมกันพิจารณาประเด็นปัญหาและแนวทางแก้ไขปัญหา  ได้แก่
1. กลุ่มหน่วยงานราชการ


2. กลุ่มองค์กรปกครองท้องถิ่น(อบต./เทศบาล/อบจ.)


3. ประชาชนทั่วไป

ผลการเรียนรู้


บรรยากาศประกอบอื่นๆ

ทุกกลุ่มมีความตั้งใจและมีความร่วมมือ ความสนใจในการทำงานและสามารถนำเสนอได้อย่างยอดเยี่ยม...ขอให้ทุดคนกล้าแสดงออกเพื่อเป็นการฝึกทักษะของตนเองเื่ออนาคตที่ดีกวีาในวันข้างหน้า...อาจารย์เชื่อว่าทุกคนทำได้ถ้าตั้งใจและมีความมุ่งมั่นะประการสำคัญ อาจารย์เห็นความตั้งใจของทุกคนที่จะมีส่วนร่วมในการพัฒนาจังหวัดมุกดาหารให้เจริญก้าวหน้าไปพร้อมกับการเปลี่ยนแปลงที่มีความรวดเร็ว จนบางครั้งเราตามไม่ทัน...อาจารย์หวังว่านักศึกษาทุกคนที่อยู่ในชุมขน จะช่วยกันและเข้าไปมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชนอย่างแน่นอน

ด้วยความปรารถดี
อ.สุริยะ พิศิษฐอรรถการ










Friday, August 29, 2014

ข้อสรุป...SAVAN CITY

จากการระดมความคิดเห็นของนักศึกษา สรุปได้ดังนี้

หากมีการเปลี่ยนแปลงจากการก่อสร้าง SAVAN CITY (สปป. ลาว)
นักศึกษา/จังหวัดมุกดาหาร จะมีผลกระทบอย่างไร

นักศึกษา
ผลประโยชน์
ผลกระทบ
๑.มีโอกาสทำงานในพื้นที่
๒.สามารถเลือกอาชีพที่หลากหลาย
๓.มีโอกาสไปทำงานต่างประเทศ
๔.มีการเรียนรู้ภาษามากขึ้น
๕.มีความสุขที่ได้เห็นสิ่งใหม่ๆ
๖.มีลูกค้ามากขึ้นกับการทำธุรกิจส่วนตัว
๗.มีโอกาสร่วมงานกับเพื่อนต่างประเทศ
๘.มีรายได้เพิ่มขึ้น
๑.มีโอกาสได้รับมลพิษ
๒.ค่าครองชีพสูงขึ้น/ราคาสินค่าสูงขึ้น
๓.มีผลกระทบกับการค้า/ธุรกิจขนาดเล็ก
๔. การจราจรติดขัด
๕.มีคู่แข่งในการประกอบอาชีพ/หางานทำมากขึ้น/อาจตกงาน
๖.การลักขโมย/อาชญากรรม
๗.จะเสียเปรียบเรื่องภาษา
๘.มีการใช้ทรัพยากรมากขึ้น(ไฟฟ้า)

ประชาชนจังหวัดมุกดาหาร
ผลประโยชน์
ผลกระทบ
๑.มีคนมาลงทุนมากขึ้น
๒.การท่องเที่ยวมีมากขึ้น
๓.มีการค้าขายระหว่างประเทศมากขึ้น
๔.คนมุกดาหารมีรายได้มากขึ้น
๕.มีสิ่งอำนวยความสะดวกมากขึ้น
๖.มีสถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจเพิ่มขึ้น
๗.
,มีโอกาสในการทำงานมากขึ้น
๘.มีการส่งสินค้าออกมากขึ้น
๙.จะเป็นศูนย์กลางของการพัฒนาด้านเศรษฐกิจ
๑๐.นักธุรกิจมุกดาหาร สามารถไปลงทุนในประเทศลาวมากขึ้น
๑๑.คนมุกดาหาร มีโอกาสในการสร้างงาน สร้างรายได้มากขึ้น
๑๒.การส่งสิ้นค้าออกมีความสะดวกมากขึ้น
๑๓.มีธุรกิจใหม่ๆเกิดขึ้น
๑๔.เกิดแรงกดดันให้จังหวัดมุกดาหาร ต้อเร่งการพัฒนาในด้านต่างๆ
๑๕.การว่างงานจะลดลง
๑๖.การเดินทางมีความสะดวกมากขึ้น
๑๗.ลดปริมาณคนต่างด้าวในจังหวัด

๑.ค่าครองชีพสูงขึ้น
๒.การจราจรติดขัด
๓.มลพิษมีมากขึ้น
๔.เกิดชุมชนแออัด
๕.นักลงทุนจะเห็นไปลงทุนในลาวมากขึ้น(ไม่ลงทุนในมุกดาหาร)
๖.นักท่องเที่ยวมาเที่ยวมุกดาหารน้อยลง/มุกดาหารจะเป็นทางผ่าน
๗.การแข่งขันในการทำงานมีมากขึ้น
๘.จังหวัดจะสูญเสียรายได้
๙.มุกดาหารจะขาดดุลการค้า
๑๐.คนในจังหวัดจะมีการแข่งขันกัน
๑๑.ขยะจะเพิ่มขึ้น มีผลกระทบต่อสภาวะโลกร้อน
๑๒.มีผลต่อวัฒนธรรม/ชีวิตความเป็นอยู่ของคนมุกดาหารเปลี่ยนแปลงไป
๑๓.จำนวนประชากรในจังหวัดเพิ่มขึ้น/เกิดความแออัด
๑๔.การค้าขาย/การลงทุนในจังหวัด จะขยายตัวน้อยลง

 

คำถามต่อไป......
เมื่อเกิดผลกระทบทั้งทางด้านบวกและลบดังกล่าวข้างต้น ถ้านักศึกษา เป็นส่วนราชการ/องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น/ประชาชนทั่วไป ควรจะมีแนวทางในการเตรียมความพร้อมเพื่อ
พัฒนาหรือแก้ไขปัญหาข้างต้นอย่างไร

๑. ในฐานะที่เป็นส่วนราชการ (เกษตร/พาณิชญ/อุตสาหกรรม  ฯลฯ)
๒. ในฐานะที่เป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อบจ./อบต./เทศบาล)
๓. ในฐานะที่เป็นประชาชนทั่วไป
กระบวนการ
แบ่งนักศึกษาออกเป็น ๓ กลุ่ม ตามความสนใจ ระดมความคิดเห็นในกลุ่มของคนแล้วนำเสนอต่อเพื่อนนักศึกษา ให้เวลากลุ่มละ ๑๕ นาที

อ.สุริยะ  พิศิษฐอรรถการ
วิทยาลัยชุมชนมุกดาหาร
๓๑ สิงหาคม ๒๕๕๗

Saturday, August 23, 2014

ปัญหาสังคมไทยปัจจุบัน



สังคมไทยปัจจุบัน เป็นสังคมที่เห็นคุณค่าทางวัตถุมากกว่าคุณค่าทางจิตใจ ยิ่งพัฒนาไปเท่าใด จะยิ่งเกิดปัญหาจากการพัฒนาเท่านั้น ยิ่งมีวัตถุสนองความต้องการมากเท่าใดยิ่งไม่รู้จักอิ่ม ไม่รู้จักพอ คนไทยในยุคโลกาภิวัตน์จึงมีปัญหาทางจิตเกิดขึ้นมากมาย เช่น มีพฤติกรรมการแสดงออกที่รุนแรง ขาดเมตตา ทั้ง ๆ ที่พระพุทธศาสนาสอนว่า เมตตาธรรมเป็นเครื่องค้ำจุนโลก ทำให้คนไทยยุคใหม่ตกเป็นทาสของประเทศทุนนิยมที่ผลิตเครื่องอุปโภคบริโภคมาเป็นเหยื่อล่อ ทำให้มนุษย์เกิดกิเลสอยากมีอยากได้ สนับสนุนให้เกิดค่านิยมบริโภคผ่านสื่อต่าง ๆ โดยปราศจากการควบคุม เมื่อเกิดความอยากมี อยากได้ แต่ไม่มีเงินซื้อจะกระทำทุจริต ลักเล็กขโมยน้อย ฉกชิงวิ่งราวดังที่เป็นข่าวอยู่เสมอ สังคมปัจจุบันจึงไร้ความมีน้ำใจ มนุษย์ชอบหมกมุ่นในกามคุณ เป็นที่รวมสิ่งยั่วยุทางเพศ สื่อลามกต่าง ๆ มากมาย มีสิ่งมอมเมาในรูปแบบการพนันต่าง ๆ อีกมาก เสพสิ่งเสพติด เช่น บุหรี่ ยาบ้า ยาไอซ์ เมื่อสังคมไทยตกอยู่ในสภาพแวดล้อมทางสังคมเช่นนี้ จึงหมกมุ่นจนถอนตัวไม่ขึ้น อีกทั้งคนส่วนใหญ่คิดว่า การมีความพร้อมทางวัตถุจะทำให้ชีวิตมีความสงบสุข จึงชอบวิ่งตามวัตถุ ไขว่คว้าหามาบำรุงชีวิต สิ่งใดที่ยังไม่มีเหมือนคนทั่วไปจะพยายามดิ้นรนหามา สิ่งที่มีอยู่แล้วก็ให้มีมากกว่าเดิม ถึงกับกู้หนี้ยืมสินมาซื้อหา ที่ถลำลึกอาจถึงขั้นทุจริตคิดมิชอบต่อหน้าที่การงาน คนประเภทนี้จะหาความสงบสุขทางใจไม่ได้จนตลอดชีวิต

          มนุษย์ในสังคมปัจจุบันชอบตรวจสอบคนอื่น ไม่ยอมหันมาตรวจสอบตนเอง ดังคำสอนที่ว่า จงเตือนตนด้วยตนเอง หรือจงตั้งตนไว้ในคุณธรรมก่อน แล้วจึงสอนคนอื่น ทำได้เช่นนี้จึงจะไม่มัวหมอง ไม่ควรแต่คิดหาความผิดของคนอื่นหรือธุระที่เขาทำหรือยังไม่ทำ แต่ควรพิจารณาตนว่า อะไรที่ตนทำแล้วหรือยังไม่กระทำ ระบบการศึกษาอบรมของไทยในปัจจุบันได้รับอิทธิพลจากประเทศทางตะวันตก สอนให้รู้เรื่องภายนอกตัว มิได้เน้นว่าเมื่อเรียนรู้เรื่องของคนอื่นแล้ว ให้หันมาตรวจสอบตนเองบ้าง ระบบการศึกษาเช่นนี้เมื่อตนมีข้อบกพร่องอะไรกลับมองไม่เห็น หรือเห็นแต่แกล้งทำไม่สนใจ พฤติกรรมของมนุษย์ประการสำคัญ คือ มีศรัทธาเลื่อนลอย คนไทยนับถือพระนับถือเจ้าก็จริง แต่ส่วนใหญ่ไม่ เลื่อมใสอย่างมั่นคง ชาวพุทธที่นับถือพระรัตนตรัยจึงควรพึ่งตนเอง ยึดเอาพระรัตนตรัยเป็นแรงบันดาลใจ ไม่ดูถูกความสามารถของตนเอง หันไปพึ่งผีสางเทวดาหรือสิ่งที่เหลวไหล หรืองมงายต่าง ๆ เช่น สัตว์ประหลาดหัวเป็นหมู หางเป็นหมา ปลาไหลเผือก เป็นต้น

           คนไทยยุคใหม่ในปัจจุบัน ส่วนใหญ่นับถือพระรัตนตรัยเพียงลมปากเท่านั้น แต่มีพฤติกรรมสวนทางให้เลื่อมใสศรัทธาเป็นส่วนใหญ่ หลักสูตรวิชาพระพุทธศาสนามีหัวข้อที่ทันสมัยอยู่ข้อหนึ่งคือ ปัญหาทางจิตของประชาชนไทย ที่ว่าทันสมัยเพราะสังคมไทยเป็นสังคมที่มีความสงบสุข ไม่มีปัญหาทางจิต ไม่เหมือนกับประเทศที่เจริญหรือพัฒนาแล้วแต่มีคนเป็นโรคจิตหรือคนบ้าเพิ่มขึ้น แต่ปัจจุบันคนไทยตกอยู่ในสภาพไม่แตกต่างจากประเทศที่เจริญหรือประเทศที่พัฒนาแล้วที่หมกมุ่น หลงใหลในวัตถุมากว่าสิ่งที่มีคุณค่าทางจิตใจ ทำให้เดินเข้าสู่สิ่งที่เรียกว่า อบายมุขได้ง่ายมากกว่าการเดินทางเข้าสู่วัด เพื่อบำเพ็ญบุญ บำเพ็ญทานบารมีเพื่อให้ชีวิตได้พบกับความสุข ความเจริญ.

 นักศึกษาคิดว่า ประเด็นปัญหาสังคมไทยที่กล่าวข้างต้น เป็นความจริงมากกน้อยเพียงใด เพราะเหตุใดและจะมีแนวทางในการแก้ไขปัญหาเหล่านั้นอย่างไร (กรุณา Post ความคิดเห็นพร้อมระบุชื่อของนักศึกษาด้วยนะเครับ)

Friday, August 8, 2014

ความเหลื่อมล้ำ...รากลึกปัญหาสังคมไทย



สังคมไทยมีปัญหามากมายหลายมิติ แต่ไม่ว่ามองไปทางดัานใด พบว่า มีปัญหาทุกเรื่องทุกด้าน จนในบางครั้งเมื่อมีการพูดถึงปัญหาของสังคมไทยครั้งใด มักลงเอยด้วยการไม่มีข้อสรุปว่าจะเอาอย่างไร นักศึกษาที่เกิดสภาพการณ์เช่นนี้ เป็นเพราะเหตุใด (กรุณา Comments และกรุณาระบุชื่อตนเองด้วยครับ






Saturday, August 2, 2014

รายชื่อนักศึกษา

สาขาวิชา คอมพิวเตอร์ธุรกิจ รุ่น ๑๓
๑. นายจีรศักดิ์  ทองเภา
๒. นายเรืองศักดิ์  อึคฮาด
๓. นายอำพล  คนเพียร
๔. นางสาวสุณภา  ผาลอด
๕. นางสาวดาราวดี  ทองเภา
๖. นางสาวทิพมาศ  อินทร์ทอง
๗. นางสาวรัตนา  ธิจักร
๘. นางสาวเอมอร  ชาลือ
๙. นายสาวอารยา  บุญคำ
๑๐. นางสาวทิพย์กมล  สุขประเสริฐ
๑๑. นางสาวพรหมภัสสร์  เสนาพันธ์
๑๒. นายณัฐพล  คำพิลา
๑๓. นายวรัตน์พงษ์  ศรีสุพรรณ
๑๔. นางสาวสิริกัลยา  รูปดี
๑๕. นายกิตติพงษ์  ทองจันทร์
๑๖. นายยุทธพัตร์  ราชิวงศ์
๑๗. นายธีรพงษ์  ดีดวงพันธ์
๑๘. นายสกล  อินธิเสน
๑๙. นางสาวจันทร์สุดา  ดีดวงพันธ์
๒๐. นางสาวพัชรินทร์  แสงวงษ์
๒๑. นายศุภวัฒน์  ไชยวงษ์
๒๒. นางสาวกฤษณา  อ่อนคะณา
๒๓. นางสาวสุภิตา  คนเพียร
๒๔. นายณัฐวุฒิ  พิกุลศรี
๒๕. นายอาทิตย์  รุ่งสว่างวงค์
๒๖. ส.ณ.เอกกวี  แสงหาราช
๒๗. นายเวชนันท์  ประทุมลี
๒๘. นางจิรพันธ์  แข็งแรง
๒๙. นางพงศธร  วรรณไกรศรี
๓๐. นางสาวศิราพร  พิสชาติ
๓๑. นายเอกอมร  มั่งคั่ง
๓๒. นางสาวรรกมล  ไกยลุน
๓๓. นางสาวปกรณ์  คำมุงคุณ
๓๔. นายอนุวัฒน์  ทัศนะภาค
๓๕. นายรัฐพล  หนองสูง
๓๖. นายณัฐพล  นุ่นนาแซง
๓๗. นายกฤษดา  บุญชู
๓๘. นายอนันต์  สุรีย์พุทธ
๓๙. นายบุญเลิศ  บุญรักษ์
๔๐. นายศุภชัย  ทองอุ่น
๔๑. นางสาวฉันทนา  ภารดา
๔๒. นางสาวพลับพลึง  แสงสุวรรณ

ปฐมวัย  รุ่น ๑๓
๑. นายยุทธนินทร์  รสจันทร์
๒. นางสาววิเศษ  กงนะ
๓. นางสาวเลียม  ชาลี
๔. นางสาวอภิสรา  จันเต็ม
๕. นางลลิสา  บัวคำภา
๖. นางสาวเกษฎา  โสมศรี
๗. นางจูกแจง  ภูมิศรี
๘. นางสาวอังคณา  ไกรลือชา
๙. นางสาวมณวฬา  เมฆสถิตย์
๑๐. นางสาวสิริยาภา  บุญญาธนเตโชดม
๑๑. นางสาวนริสรา  อุระ
๑๒. นางสาววาสนา  อนุกิจพานิช
๑๓. นางสาวนวรัตน์  ไชยโคตร
๑๔. นางสาวดาวประกาย  สุพรรณโมกข์
๑๕. นางสาวกัญญาพร  ทองโสม
๑๖. นางสาวอุไรวรรณ  เมืองโคตร
๑๗. นางสาวรัตนา ผิวงาม
๑๘. นางสาวเสาวลักษณ์  ทะนา
๑๙. นางสาวพชร  ใจสุข
๒๐. นางนนธญา  ทะวา
๒๑. นางสาวสุภาวรรณ  พรมอวน
๒๒. นางสาวสุกันยา  ทองขัน
๒๓. นางสาวอัจฉราภรณ์  พลจันทา
๒๔. นางสาววรัญญา  การพานิช
๒๕. นายอาณัฐพร  รูปสอาด
๒๖. นางสุภาภักดิ์  มัสยามาศ
๒๗. นางสาวพิมพ์สุดา  เมืองโคตร

สาขาธุรกิจฯ รุ้น ๔ (ยังไม่มีรายชื่อ)

Thursday, July 31, 2014

คำอธิบายรายวิชา

รายวิชาสังคมไทยกับการพัฒนา (Thai Social and Development) ศึกษาเรียนรู้ถึง สภาพปัจจุบัน อนาคต ระบบการเมืองการปดครอง เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม การวิเคราะห์เหตุปัจจัยและกระทบ การสังเคราะห์แนวทางแก้ไขปัญหาและป้องกัน และแนวทางการพัฒนา ลักษณะโครงสร้างทางสังคมไทยและสังคมหลังสมัยใหมา(Post Modern)
สาระสำคัญน่าจะประกอบได้วย
1. สภาพปัจจุบันของสังคมไทย
2. แนวโน้มสังคมไทยในอนาคต
3. การวิเคาาะห๋สภาพสังคมไทยในแต่ละด้าน(เศรษฐกิจ สังคม การเมือง วัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม)
4. ปัญหา/ผลกระทบและแนวาางแก้ำขปัญหาสังคมไทย
5. แนวทางการพัฒนาสังคมไทย
6. โครงสร้างสังคมไทยที่ควรจะเป็นในอนาคต
 
ชม...วีดิโอ ปมปัญหาสังคมไทย หรือกด Linked ต่อไปนี้ http://www.youtube.com/watch?v=XFSHjBzFMF8
 
หลังจากดูวีดิโอแล้ว นักศึกษาคิดว่า ปมปัญหาหลักของสังคมไทย คือ อะไร และมีต้นตอมากจากอะไร และนักศึกษาคิดว่า จะหาทางออกกับปมปัญหาดังกล่าวได้อย่างไร (กรุณา Post ความคิดเห็นของนักศึกษาลงใน Comments ด้านล่างนี้

ทำความรู้จักกันก่อน

วิทยาลัยชุมนมุกดาหาร ได้มอบหมายให้นายสุริยะ พิศิษฐอรรถการ ทำหน้าที่ครูผู้สอนในรายวิชา สังคมไทยกับการพัฒนา เป็นรายวิชาทั่วๆไป เพื่อให่นักศึกษาเข้าใจสังคมไทยให้มากขึ้นเกี่ยวกับการพัฒนาประเทศ คิดว่าน่าจะมีความสำคัญต่อการเรียนไม่น้อยในการใช้วิชาความรู้สำหรับการดำเนินชีวิตในปัจจุบัน เข้าใจอดีต ปัจจุบันะอนาคตของประเทศไทยว่า เป็นการ เป็นอยู่ และจะเป็นไปอย่างไร

หวังว่านักศึกษาจะมีความสุขในการเรียน
สุริยะ พิศิษฐอรรถการ
31/7/57